วันพุธที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2555

ประเพณีวันสารทเดือนสิบ



  • ประเพณีวันสารทเดือนสิบ
           การทำบุญวันสารทเดือนสิบ  หรือภาษาท้องถิ่นเรียกว่า วันชิงเปรตนั้นในเดือนสิบ(กันยายน) มีการทำบุญที่วัด ครั้ง

              ครั้งแรก  วันแรม  1 ค่ำ  เดือนสิบเรียกว่า  วันรับเปรต
           
    ครั้งที่สองวันแรม  15  ค่ำ เดือนสิบเรียกว่า  วันส่งเปรต
    การทำบุญทั้งสองครั้งเป็นการทำบุญที่แสดงถึงความกตัญญูต่อบุพการีผู้ล่วงลับไปแล้วโดยอุทิศส่วนกุศลไปให้วิญญาณของบรรพบุรุษที่ตกอยู่ในเปรตภูมิเป็นคติของศาสนาพราหมณ์ที่ผสมในประเพณีของพุทธศาสนา พุทธศาสนิกชนนิยมไปทำบุญ ณ วัดที่เป็นภูมิลำเนาของตนเพื่อร่วมพิธีตั้งเปรตและชิงเปรตอาจสับเปลี่ยนกันไปทำบุญ ณ ภูมิลำเนาของฝ่ายบิดาครั้งหนึ่งฝ่ายมารดาครั้งหนึ่งจึงทำให้ผู้ที่ไปประกอบ อาชีพจากถิ่นห่างไกลจากบ้านเกิดได้มีโอกาสได้กลับมาพบปะสังสรรค์และ                               รู้จักวงศาคณาญาติเพิ่มขึ้น
    ขนมเดือนสิบ  จัดขึ้นโดยเฉพาะใช้ในโอกาสทำบุญเดือนสิบ  ที่จำเป็นมี  5  อย่าง คือ
    1.
    ขนมลา     เป็นสัญลักษณ์แทนเสื้อผ้า  เครื่องนุ่งห่ม
    2.ขนมพอง  เป็นสัญลักษณ์แทนแพ  สำหรับญาติผู้ล่วงลับใช้เดินทาง
    3.ขนมกง    ( ขนมไข่ปลา )  เป็นสัญลักษณ์แทนเครื่องประดับ
    4.
    ขนมเจาะรูหรือขนมเจาะหูหรือขนมเบซำ  เป็นสัญลักษณ์แทนเงินสำหรับใช้จ่าย
    5. ขนมบ้า   เป็นสัญลักษณ์แทนสะบ้า  สำหรับใช้เล่นสะบ้าในวันสงกรานต์
          
    ในวันแรม  1  ค่ำเดือนสิบ  ชาวบ้านจัดภัตตาหารไปทำบุญที่วัดชาวบ้านเรียกวันนี้ว่าวันชิเปรตเป็นวันที่ยมบาลเปิดนรกปล่อยเปรตชนมาเยี่ยมลูกหลาน  ลูกหลานก็ทำบุญต้อนรับครั้งหนึ่งใน วันแรม 15ค่ำเดือนสิบเรียกว่าวันส่งเปรตเป็นวันที่เปรตชนต้องกลับยมโลก  ลูกหลานก็จะทำบุญเลี้ยงส่งอีกครั้งหนึ่ง

    การจัดหฺมฺรับ

    เมื่อถึงวันแรม 14 ค่ำเดือนสิบ ซึ่งเรียกกันว่า “วันหลองหฺมฺรับ” แต่ละครอบครัวหรือวงศ์ตระกูลจะร่วมกันนำข้าวของเครื่องใช้ต่าง ๆ มาจัดเป็นหฺมฺรับ /หมะหรับ/ สำหรับการจัดหฺมฺรับนั้นไม่มีรูปแบบที่แน่นอน จะจัดเป็นรูปแบบใดก็ได้ แต่ลำดับการจัดของลงหฺมฺรับจะเหมือน ๆ กัน คือ เริ่มต้นจะนำกระบุง กระจาด ถาด หรือกะละมัง มาเป็นภาชนะ แล้วรองก้นด้วยข้าวสาร ตามด้วยหอม กระเทียม พริก เกลือ กะปิ น้ำตาล และเครื่องปรุงอาหารที่จำเป็นอื่น ๆ ต่อไปก็ใส่ของจำพวกอาหารแห้ง เช่น ปลาเค็ม เนื้อเค็ม และผักผลไม้ที่เก็บไว้ได้นาน ๆ เช่น ฟักเขียว ฟักทอง มะพร้าว ขมิ้น มัน ลางสาด เงาะ ลองกอง กล้วย อ้อย ข้าวโพด ข่า ตะไคร้ ฯลฯ จากนั้นก็ใส่ของใช้ในชีวิตประจำวัน เช่น ไต้ น้ำมันมะพร้าว น้ำมันก๊าด ไม้ขีด หม้อ กระทะ ถ้วยชาม เข็ม ด้าย และเครื่องเซี่ยนหมาก สุดท้ายก็ใส่สิ่งที่เป็นหัวใจสำคัญของการจัดหฺมฺรับ คือ ขนม 5 อย่าง ( บางท่านบอกว่า 6 อย่าง ) ซึ่งขนมแต่ละอย่างล้วนมีความหมายในตัวเอง คือ ขนมพอง เป็นสัญลักษณ์แทนแพสำหรับผู้ล่วงลับใช้ล่องข้ามห้วงมหรรณพ ขนมลา แทนเครื่องนุ่งห่มแพรพรรณ ขนมกง หรือ ขนมไข่ปลา แทนเครื่องประดับ ขนมดีซำ แทนเงินเบี้ยสำหรับใช้สอย ขนมบ้า แทนสะบ้าใช้เล่น ในกรณีที่มีขนม 6 อย่าง ก็จะมีขนมลาลอยมัน ซึ่งใช้แทนฟูกหมอน เข้าไปด้วย 3) การยกหฺมฺรับ ในวันแรม 15 ค่ำ เดือนสิบ ซึ่งเป็นวันยกหมฺรับ ต่างก็จะนำหมฺรับพร้อมภัตตาหารไปวัด โดยแต่ละคนจะแต่งตัวอย่างสะอาดและสวยงาม เพราะถือเป็นการทำบุญครั้งสำคัญ วัดที่ไปมักจะเป็นวัดใกล้บ้านหรือวัดที่ตนศรัทธา การยกหมฺรับไปวัดอาจต่างครอบครัวต่างไปหรืออาจจัดเป็นขบวนแห่ ทั้งนี้เพื่อต้องการความสนุกสนานรื่นเริงด้วย วัดบางแห่งอาจจะจัดให้มีการประกวดหฺมฺรับในส่วนของจังหวัดนครศรีธรรมราชนั้น ได้จัดให้มีขบวนแห่หมฺรับอย่างยิ่งใหญ่ตระการตาในงานเดือนสิบทุก ๆปี โดยมีองค์กรทั้งภาครัฐและองค์กรเอกชนต่างส่งหฺมฺรับของตนเข้าร่วมขบวนแห่และร่วมการประกวด ซึ่งในช่วงเทศกาลนี้สามารถจูงใจนักท่องเที่ยวให้มาท่องเที่ยวจังหวัดนครศรีธรรมราชมากยิ่งขึ้น
    เมื่อขบวนแห่หฺมฺรับมาถึงวัดแล้ว ก็จะร่วมกันถวายภัตตาหารแก่ภิกษุสงฆ์ เสร็จแล้วจะร่วมกัน “ตั้งเปรต” เพื่อแผ่ส่วนบุญส่วนกุศลให้แก่ผู้ที่ล่วงลับไปแล้ว ในอดีตมักตั้งเปรตบริเวณโคนต้นไม้หรือบริเวณกำแพงวัด แต่ปัจจุบันนิยมตั้งบน “หลาเปรต” โดยอาหารที่จะตั้งนั้นจะเป็นขนมทั้ง 5 หรือ 6 อย่างดังกล่าวข้างต้น รวมถึงอาหารอื่น ๆ ที่บรรพชนชอบ ตั้งเปรตเสร็จแล้ว พระสงฆ์จะสวดบังสุกุล โดยจับสายสิญจน์ที่ผูกไว้กับหลาเปรต เมื่อพิธีสงฆ์เสร็จสิ้น ผู้คนจะร่วมกัน “ชิงเปรต” โดยการแย่งชิงอาหารบนหลาเปรต ทั้งนี้นอกจากเพื่อความสนุกสนานแล้วยังมีความเชื่อว่า หากใครได้กินอาหารบนหลาเปรตจะได้รับกุศลแรง เป็นศิริมงคลแก่ตนเองและครอบครัว เสร็จสิ้นการชิงเปรตต่างก็แยกย้ายกลับบ้านด้วยใจอิ่มบุญ


    ประเพณีปฏิบัติ
     
              ก่อนวันงาน ชาวบ้านจะทำขนมที่เรียกว่า กระยาสารท และขนมอื่น ๆ แล้วแต่ความนิยมของแต่ละท้องถิ่น
    ในวันงาน ชาวบ้ายจัดแจงนำข้าวปลา อาหาร และข้าวกระยาสารทไปทำบุญตักบาตรที่วัดประจำหมู่บ้าน
    ทายก ทายิกา ไปถือศีล เข้าวัด ฟังธรรม และรักษาอุโบสถศีล นำข้าวกระยาสารท หรือขนมอื่นไปฝากซึ่งกันและกันยังบ้านใกล้เรือนเคียง หรือหมู่ญาติมิตรที่อยู่บ้านไกลหรือถามข่าวคราวเยี่ยมเยือนกัน
              บางท้องถิ่นทำขนมสำหรับบูชาสิ่งศักดิ์สิทธิ์ แม่พระโพสพ ผีนา ผีไร่ด้วย เมื่อถวายพระสงฆ์เสร็จแล้วก็นำไปบูชาตามไร่นา โดยวางตามกิ่งไม้ต้นไม้ หรือที่จัดไว้เพื่อการนั้นโดยเฉพาะ
    ความเชื่อ

              วันสารท เป็นวันที่ถือเป็นคติและเชื่อสืบกันมาว่า ญาติที่ล่วงลับไปแล้ว จะมีโอกาสได้กลับมารับส่วนบุญจากญาติพี่น้องที่ยังมีชีวิตอยู่ ดังนั้น จึงมีการทำบุญอุทิศส่วนกุศลไปให้ญาติในวันนี้และเชื่อว่า
              หากทำบุญในวันนี้ไปให้ญาติแล้วญาติจะได้รับส่วนบุญได้เต็มที่และมีโอกาสหมดหนี้กรรม และได้ไปเกิดหรือมีความสุข
    อีกประการหนึ่งสังคมไทยเป็นสังคมเกษตรกรรม ทำนาเป็นอาชีพหลักในช่วงเดือน 10 นี้ ได้ปักดำข้าวกล้าลงในนาหมดแล้ว กำลังงอกงาม และรอเก็บเกี่ยวเมื่อสุก จึงมีเวลาว่างพอที่จะทำบุญเพื่อเลี้ยงตอบแทน และขอบคุณสิ่งศักดิ์สิทธิ์ หรือแม่พระโพสพ หรือผีไร่ ผีนา ที่ช่วยรักษาข้าวกล้าในนาให้เจริญงอกงามดี และออกรวงจนสุกให้เก็บเกี่ยวได้ผลผลิตมาก
    วันเวลา

    การกำหนดทำบุญวันสารท มีความคลาดเคลื่อนกันบ้างในแต่ละท้องถิ่นของไทย เช่น
    ภาคกลาง กำหนดในวันแรม 15 ค่ำ เดือน 10
    ภาคใต้ กำหนดในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 10 เป็นวันรับตายาย และวันแรม 15 ค่ำ เดือน 10 เป็นวันส่งตายาย
    ชาวมอญ กำหนดวันขึ้น 15 ค่ ำ เดือน 11
              อย่างไรก็ตาม สารทไทยโดยทั่วไป ในวันแรม 15 ค่ำ เดือน 10 เนื่องจากนับถัดจากวันสงกรานต์ ตามจันทรคติจนถึงวันสารทจะครบ เดือน พอดี
    ประเพณีสังวร

              วิธีปฏิบัติในการทำบุญวันสารทจะมีความแตกต่างกันออกไป แล้วแต่หมู่ชน และขนบธรรมเนียมประเพณีตามภูมิภาค ควรยอมรับว่าแต่ละท้องถิ่นมีความแตกต่างกัน และปฏิบัติตามแต่ละท้องถิ่นจะนิยม
              การทำบุญวันสารท ควรถือเป็นการเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่แก่ญาติสนิทมิตรสหายทั้งที่ล่วงลับไปแล้วและยังมี ชีวิตอยู่เพราะเป็นช่วงที่ว่างจากการทำนาบ้างหรือไม่เร่งรัดเหมือนกับช่วงปักดำ หรือช่วงเก็บเกี่ยว
              การไปวัดฟังธรรมในอดีต มักเป็นเรื่องของคนเฒ่าคนแก่เป็นส่วนใหญ่ในวันเช่นนี้ควรส่งเสริมให้เด็ก เยาวชนและคนหนุ่มสาว ไปวัดทำบุญและรักษาศีลให้มากขึ้น เพราะเป็นวัยที่ยังมีพลังที่จะเป็นหลักต่อไปในอนาคต และเป็นช่วงเวลาที่ไม่เร่งรัดงานมากนัก
              พระสงฆ์ควรเป็นกำลังสำคัญในการเผยแพร่ประเพณีวันสารทให้ประชาชนเข้าใจและรู้ซึ้งถึงวัตถุประสงค์ที่แท้จริง เพื่อส่งเสริมให้สามารถปฏิบัตได้อย่างถูกต้อง
              ควรส่งเสริมฟื้นฟูประเพณีวันสารท ให้มีการปฏิบัติกันอย่างกว้างขวางในหมู่คนไทยทุกกลุ่ม เพื่อเป็นที่รู้จักและแพร่หลายต่อไป
    กิจกรรมวันสารท

     ให้แก่ผู้ที่ล่ง ลับไปแล้ว การตักบาตรจึงมีลักษณะที่แตกต่างกันไปในลักษณะที่แตกต่างกันไปในแต่ละท้องถิ่นนั้น ๆ การตักบาตรที่สำคัญในแต่ละท้องถิ่นได้แก่
              ตักบาตรขนมกระยาสารท
              ขนมกระยาสารทเป็นขนมประจำวันสารทในทุกท้องถิ่นของประเทศไทย ซึ่งจะขาดเสียมิได้ด้วยมีความเชือที่ว่า ถ้าไม่ได้ใส่บาตรขนมกระยาสารทในวันสารทไทยแล้ว ญาติผู้ล่วงลับก็จะไม่ได้ส่วนบุญส่วนกุศลที่กระทำในวันนั้น ขนมกระยาสารทมีส่วนประกอบ คือ ข้าวตอก ข้าวเม่า ถั่ว งา และน้ำตาล นำทั้งหมดมากวนเข้าด้วยกัน เมื่อสุกแล้วจึงนำมาปั้นเป็นก้อนกลม หรือจะตัดเป็นแผ่นก็ได้
              ตักบาตรน้ำผึ้ง 
              เป็นที่นิยมในบางท้องถิ่นเท่านั้น โดยส่วนใหญ่มักเป็นชาวไทยมอญ ที่นิยมตักบาตรน้ำผึ้ง ประเพณีการตักบาตรน้ำผึ้ง เนื่องจากมีเรื่องเล่าตามพุทธประวัติว่า "ในสมัยพุทธกาลพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเสด็จจำพรรษา ณ ป่าปาริไลยก์ เพียงพระองค์เดียว แต่มีผู้ถวายอุปัฏฐากเป็นช้างปาริเยยกะ เป็นผู้คอยถวายน้ำสำหรับอุปโภคบริโภค และลิงเป็นผู้หาผลไม้มาถวาย วันหนึ่งลิงได้นำน้ำผึ้งมาถวาย การถวายน้ำผึ้งจึงเป็นประเพณีปฏิบัติตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา"
    ฟังธรรมเทศนา
    ถือศีลภาวนา
    ปล่อยนกปล่อยปลา



วันเสาร์ที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2555

กองบิน 7

                                                                  กองบิน 7


      กองบิน 7 เริ่มก่อตั้งขึ้นเมื่อปี 2494 ณ อ่าวจุกเสม็ด อำเภอสัตหีบ จังหวัดชลบุรี 
เดิมเป็นที่ตั้งของกองบินทหารเรือ ต่อมาเมื่อปี พ.ศ.2494 เกิดเหตุการณ์ผันผวนทางการเมืองเป็นเหตุให้มีการปรับปรุง กองทัพบก กองทัพเรือและกองทัพอากาศ ตามคำสั่งกระทรวงกลาโหม โดยให้โอนกองบินทหารเรือให้กับกองทัพอากาศและให้นาวาอากาศเอก บุญชู จันทรุเบกษา หัวหน้าสรรพกำลัง สธ.กลาโหม (ยศและตำแหน่งขณะนั้น) ไปรักษาราชการผู้บังคับการกองบินทหารเรือ อีกตำแหน่งหนึ่ง
      ต่อมาเมื่อวันที่ 21 กรกฎาคม 2494 นาวาอากาศเอก บุญชู จันทรุเบกษา ได้เดินทางไปรับหน้าที่จาก พลเรือตรี เสนาะ รักธรรม รักษาราชการกองบินทหารเรือ โดยได้กระทำพิธีรับส่งหน้าที่และการบังคับบัญชาที่หน้ากองบังคับการกองบินทหารเรือ ทำให้การเป็นกองบินทหารเรือสิ้นสุดลง
      หลังจากที่กองทัพอากาศได้รับมอบกองบินทหารเรือแล้ว ก็ได้จัดตั้งเป็น "กองบินน้อยที่ 7" เมื่อวันที่ 31 ตุลาคม 2494 โดยมีการบังคับบัญชาขึ้นตรงต่อ กองบินภาค 1 กองบินรบทหารอากาศ โดยมีภารกิจขับไล่ยุทธวิธี สนับสนุนการปฏิบัติการของกองทัพเรือ ทั้งทางภาคพื้นดินและน่านน้ำฝั่งตะวันออก เพื่อป้องกันราชอาณาจักรด้านเขตแดนและฝั่งทะเล โดยบรรจุเครื่องบินแบบ บ.ฝ.8 หรือ T-6 เข้าประจำการ ต่อมาเมื่อยุบเลิกกองบินภาคและตั้งกองบินยุทธการขึ้นแทน กองบินน้อยที่ 7 จึงขึ้นตรงต่อกองบินยุทธการจนถึงปี พ.ศ.2506 กองทัพอากาศได้แก้ไขอัตราใหม่ และให้เปลี่ยนชื่อกองบินน้อยที่ 7 เป็น "กองบิน 7" แต่ยังคงภารกิจของกองบินและฝูงบินไว้เช่นเดิม จนกระทั่งปี 2510 กองบิน 7 ได้เปลี่ยนภารกิจเป็นกองบินสนับสนุนทางอากาศยุทธวิธีและได้บรรจุเครื่องบินแบบ บ.ธ.1(L-18) และแบบ ต.2(L-19) ทดแทน บ.ฝ.8

  

      ตามนโยบายปรับวางกำลังของกองทัพอากาศเพื่อความเหมาะสมทางด้านยุทธศาสตร์ในการป้องกันประเทศและการคมนาคมขนส่งเชิงพาณิชย์ในแถบภาคใต้ตอนบน จึงได้เลือกสนามบินม่วงเรียง อันเป็นสนามบินเก่าที่ทหารญี่ปุ่นสร้างขึ้นไว้ใช้งาน เมื่อปลายสงครามโลกครั้งที่ 2 ประมาณปี พ.ศ.2486 โดยตั้งอยู่บนทางหลวงแผ่นดินสายที่ 41 หรือสายเอเชีย ห่างจากกรุงเทพมหานครลงมาทางใต้ประมาณ 624 กิโลเมตร ณ ตำบลหัวเตยและบางส่วนของตำบลมะลวน อำเภอพุนพิน จังหวัดสุราษฎร์ธานี ก่อนถึงอำเภอพุนพินประมาณ 13 กิโลเมตร โดยใช้ชื่อว่า กองบิน 71 กองบิน 71 ได้มีการพัฒนาตามแผนพัฒนาประเทศในโครงการ 5 ปี ของทางรัฐบาลตั้งแต่ปี พ.ศ.2521 เป็นต้นมา โดยมีการจัดวางสาธารณูปโภคพื้นฐานอย่างต่อเนื่อง อาทิการจัดซื้อที่ดินเพิ่มเติม การก่อสร้างทางขับ ทางวิ่ง ลานจอดเครื่องบิน จัดหาเครื่องมือสื่อสาร เครื่องช่วยเดินอากาศ ระบบประปา อาคาร ที่ทำการต่าง ๆ อาคารโรงเก็บ-โรงซ่อมอากาศยาน บ้านพักอาศัย ระบบไฟฟ้า ถนน รั้ว ฯลฯ 
      ปี พ.ศ.2523 กองกำลังทหารอากาศชุดแรกได้เดินทางเข้ามาในพื้นที่ กองบิน 71 อันประกอบไปด้วยข้าราชการและทหารกองประจำการจาก กองบิน 53 จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ จำนวน 1 กองร้อย นำโดยเรืออากาศเอก เสถียร อัมรักเลิศ ได้เข้ามาเพื่อรักษาพื้นที่และสิ่งก่อสร้าง ต่อมาในวันที่ 5 มกราคม 2524 กองบิน 71 สัตหีบ ได้ส่งข้าราชการและทหารกองประจำการ จำนวน 1 กองร้อย นำโดยเรืออากาศเอก ทวี สุริยวงศ์ มาผลัดเปลี่ยนแทนกำลังชุดเดิม
      12 กุมภาพันธ์ 2524 กองทัพอากาศได้ตั้งกองบังคับการกองบิน 53 ส่วนล่วงหน้าขึ้นเป็นอัตราเฉพาะกิจ(เพื่อพลาง) โดยมี นาวาอากาศโท จำลอง เกษสยม เป็นผู้บังคับการกองบิน 53 ส่วนหน้า และเมื่อวันที่ 27 กันยายน 2524 ได้มีพิธีวางศิลาฤกษ์ กองบิน 53 ส่วนล่วงหน้าที่ สนามบินหัวเตย โดยมี พลอากาศเอก พะเนียง กานตรัตน์ ผู้บัญชาการทหารอากาศ เป็นประธานในพิธี ต่อจากนั้นในเดือนพฤศจิกายน ปีเดียวกันส่วนราชการต่าง ๆ ในสังกัดต่างพากันทยอยเดินทางเข้าที่ตั้งสนามบินหัวเตย เป็นลำดับ
      15 กุมภาพันธ์ 2525 กองทัพอากาศมีคำสั่งให้ กองบิน 71 เป็นกองบินในที่ตั้งปกติ ณ สนามบินหัวเตย และให้ยกเลิกกองบิน 53 ส่วนล่วงหน้า โดยให้โอนเครื่องบินโจมตี แบบ 5 (OV-10) จำนวน 11 เครื่องจากฝูงบิน 531 กองบิน 53 จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ มาประจำการในฝูงบิน 711 กองบิน 71 ดังนั้นจึงถือเอาวันที่ 15 กุมภาพันธ์ ของทุกปีเป็น วันคล้ายวันสถาปนากองบิน 71 
      22 กุมภาพันธ์ 2525 นาวาอากาศเอก วีระพงษ์ สิงหเสนี ผู้บังคับการกองบิน 71 สัตหีบ และคณะชาวสัตหีบ นายอำเภอและพระเถระสำคัญได้อัญเชิญ ธงชัยเฉลิมพลประจำกองบิน 71 พร้อมด้วยพระพุทธนฤบดีศรีสัตหีบและพระพุทธมหาเมตตา พระพุทธรูปประจำกองบิน มายังกองบิน 71 สุราษฎร์ธานี และในวันเดียวกันได้มีพิธีรับส่งหน้าที่ ผู้บังคับการกองบิน 71 ระหว่างนาวาอากาศเอก วีระพงษ์ สิงหเสนี ผู้บังคับการกองบิน 71 สัตหีบ ไปเป็นผู้บังคับการกองบิน 53 และนาวาอากาศเอก กฤษณะ สิทธิทูล ผู้บังคับการกองบิน 53 มาเป็นผู้บังคับการกองบิน 71 สุราษฎร์ธานี ดังนั้นจึงถือว่า นาวาอากาศเอก กฤษณะ สิทธิทูล เป็นผู้บังคับการท่านแรกของกองบิน 71
      เพื่อสนองนโยบายของรัฐบาลที่ต้องการให้มีกองกำลังทางอากาศอันทรงพลานุภาพ ไว้คุ้มครองป้องกันผลประโยชน์ของชาติทางทะเลและดินแดนทางภาคใต้ของประเทศไทย กองทัพอากาศจึงได้ปรับโครงสร้างใหม่ โดยกำหนดให้กองบิน 71 เป็นหน่วยขึ้นตรงต่อ กองพลบินที่ 4 เมื่อเดือน พฤษภาคม 2533 และได้ย้ายเครื่องบินขับไล่แบบ 18 (F-5E/F) จาก ฝูงบิน 102 กองบิน 1 จังหวัดนครราชสีมา เข้าประจำการที่กองบิน 71 และได้ย้ายเครื่องบินโจมตีแบบ 5 (OV-10) ไปประจำการที่ ฝูงบิน 411 กองบิน 41 จังหวัดเชียงใหม่ โดยมี นาวาอากาศโท สุจินต์ แช่มช้อย เป็นผู้บังคับฝูง F5 E/F ท่านแรก เมื่อวันที่ 23 กันยายน 2534
      ตามคำสั่งกองทัพอากาศ(เฉพาะ)ที่ 48/42 กองทัพอากาศได้แก้ไขอัตรากองทัพอากาศตั้งแต่วันที่ 5 มีนาคม 2542 โดยเปลี่ยนชื่อกองบิน 71 เป็น กองบิน 7 พร้อมทั้งเพิ่มอัตราฝูงบินเป็น 3 ฝูงบิน ยกระดับเป็นฐานบินปฏิบัติการหลักของกองทัพอากาศ มีเครื่องบินบรรจุประจำการ ณ ขณะนี้ได้แก่เครื่องบินขับไล่เอนกประสงค์แบบที่ 18 (F-5A),เครื่องบินขับไล่เอนกประสงค์แบบที่ 18 ก (F-5B),เครื่องบินขับไล่เอนกประสงค์แบบที่ 18 ข (F-5E),และเครื่องบินลาดตะเวนถ่ายภาพแบบที่ 18 (RF-5A) กองบิน 7 ในปัจจุบันจึงนับเป็นกองบินที่มีอาวุธยุทโธปกรณ์ เพียบพร้อมด้วยศักยภาพในการที่จะคุ้มครองทรัพยากรธรรมชาติ และป้องกันการรุกรานจากอริราชศัตรูในทุกรูปแบบ โดยในปัจจุบันมี นาวาอากาศเอก สฤษดิ์พร สุนทรกิจ เป็นผู้บังคับการกองบิน 7 



ครูในดวงใจ


                                                     

คุณครูในดวงใจ
ครูในดวงใจของผมมีชื่อว่า ครูอาภรณ์ ศรีวรสาร ร.ร.แก่นนครวิทยาลัย จ.ขอนแก่น ตอนอยู่ ม.๖ ครูดูแล เอาใจใส่ เด็กนักเรียน เป็นอย่างดี โดยเฉพาะตัวผม ท่านเป็นครูที่ผมไม่เคยเจอที่ไหนมาก่อนเลย เปรียบเสมือน "แม่" ของผมเองก็ว่าได้ เวลาผมมีปัญหา ครูก็ให้คำปรึกษาดีๆ แก่ผมหลายครั้ง ครูเป็นกันเอง กับผมมาก ดูแลทุกสิ่งทุกอย่าง ไม่ต่างอะไร ไปจากแม่ของผม ครูให้ทุนการศึกษาผม และให้ผมเรียนพิเศษ โดยไม่เก็บค่าเรียนกับผม แม้แต่บาทเดียว ผมนึกเสมอว่า สักวันหนึ่ง ผมจะกลับไปตอบแทน พระคุณ ของครูท่านนี้ และจะตั้งใจเรียน ไม่ทำให้ครูต้องผิดหวัง ในตัวผม ผมมาจนถึงจุดนี้ได้ ส่วนหนึ่ง ก็มาจากท่าน และครูก็สอนอะไร ดีๆ หลายอย่าง ซึ่งผมไม่อาจลืมได้ เป็นคำสั่งสอน ที่มีค่า และเป็นประโยชน์มาก ต่อชีวิตในวันนี้ และภายภาคหน้า
- นายจักรพงษ์ มุงคุณคำชาว (จอร์จ) - 
ร.ร.แก่นนครวิทยาลัย จ.ขอนแก่น


ครูที่ข้าพเจ้าประทับใจ คือ อ.สมชัย สินแท้ เป็นอาจารย์แนะแนวที่โรงเรียนหัวหิน ท่านจะคอยเอาใจใส่ ดูแลนักเรียนทุกคน เวลามีการสอบแข่งขันอะไร ท่านก็จะประกาศ ให้นักเรียนทราบ คอยหาทุน ให้นักเรียน หางานให้ทำ ในส่วนตัวของข้าพเจ้า อาจารย์ดูแลเป็นอย่างดี คอยหาทุน การศึกษา ให้อยู่เสมอ เวลามีโควต้า ต่างๆ ท่านก็บอกให้ข้าพเจ้าสมัคร และส่งให้ โดยท่านจัดการทุกอย่าง
ครั้งหนึ่งข้าพเจ้าเคยไปเข้าค่ายโอลิมปิกที่ ม.ศิลปากร อ.สมชัยก็ไปเยี่ยม ซื้อของ ซื้อขนมไปฝาก และ ที่สำคัญ หากไม่มีท่าน ข้าพเจ้าคงไม่ได้ มาอยู่ ณ ที่นี้ ท่านสนับสนุน ข้าพเจ้าทุกอย่าง ให้ข้าพเจ้าสมัคร โครงการจุฬาฯ - ชนบท ถึงแม้ข้าพเจ้า จะได้เรียนที่จุฬานี้แน่ๆ แล้ว ท่านอาจารย์ ก็ยังเอาใจใส่ พยายามหา ทุนการศึกษา ให้ข้าพเจ้าอยู่ เวลาที่ข้าพเจ้า ไม่ค่อยรู้เรื่องวิชาใด อาจารย์ก็จะหา ที่เรียนพิเศษให้ โดยข้าพเจ้า ไม่ต้องเสียสตางค์ และอาจารย์ ก็ไปเยี่ยมข้าพเจ้า ที่บ้านอยู่บ่อยๆ ทำให้รู้สึกอบอุ่น และรักอาจารย์ เหมือนพ่ออีกคนหนึ่ง ซึ่งท่านเป็นห่วงเรามาก
- นส.พรนารายณ์ บัวผึ่ง -
โรงเรียนหัวหิน จ.ประจวบฯ


ครูที่ประทับใจ อ.วัชรี พินิจจันทร์ ร.ร.วัดศรีมงคล (ข้าราชการบำนาญ)
ที่ข้าพเจ้าประทับใจ คุณครูท่านนี้ เพราะ ท่านทุ่มเทในการสอน เอาใจใส่นักเรียนทุกคน เหมือนลูกหลาน ทุกๆ วัน พอถึงเวลาบ่าย ก็จะมานั่งเล่านิทานให้ฟัง และเวลาสอน ท่านก็จะไม่ลงโทษ โดยการตี แต่จะใช้ วิธีการ ตักเตือนแทน และเมื่อมีการจัดการสอบแข่งขัน ที่โรงเรียนอื่น ท่านก็จะพาไป โดยรับผิดชอบ ค่าใช้จ่ายเองทั้งหมด และถ้านักเรียนแข่งขัน ชนะกลับมาแล้ว ท่านก็จะนำของรางวัลไปให้ และ แสดงความยินดี ด้วยความจริงใจ
- นายฉัตรชัย ดำคำ -
ร.ร.วัดศรีมงคล จ.ชัยนาท


ครูในดวงใจของข้าพเจ้าคือ อ.สมปอง จันทราวุธ สอนวิชาชีววิทยา อาจารย์จะเป็นผู้ที่ดำเนินการ เกี่ยวกับ โครงการ การศึกษาต่อ ของมหาวิทยาลัยต่างๆ ที่ส่งเข้ามาในโรงเรียน รวมทั้งโครงการจุฬา-ชนบท ที่ข้าพเจ้า ได้ไป ขอคำแนะนำอาจารย์ด้วย แม้อาจารย์จะเป็น คนเข้มงวด แต่ลูกศิษย์ทุกคน ก็รู้ว่าท่านรัก และ ปรารถนาดีกับเรา ข้าพเจ้าก็ยังจำภาพใบหน้าของอาจารย์ ที่ทราบว่า ลูกศิษย์ของท่าน มีสิทธิ์สอบ สัมภาษณ์ โครงการจุฬา-ชนบทได้ ใบหน้าของท่านสดใส ยิ้มด้วยความดีใจ และปลาบปลื้มใจ ที่ลูกศิษย์ ของตน ประสบความสำเร็จ ไปหนึ่งก้าวแล้ว และอาจารย์ก็แนะนำว่า การศึกษาต่อ ในระดับ มหาวิทยาลัย โดยเฉพาะ อย่างยิ่ง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยนั้น ไม่ใช่เรื่องง่ายเลย ดังนั้น ลูกศิษย์ของครู จงตั้งใจ มีความขยัน หมั่นเพียร และต้องรู้จัก ปรับตัวให้ได้ แล้วลูกศิษย์ของครู ก็จะประสบความสำเร็จ อย่างแน่นอน ข้าพเจ้ามีความผูกพัน และจะไม่มีวันลืม อาจารย์สมปอง จันทราวุธ เลย
- น.ส.จิราภรณ์ สุขเกษม -
ร.ร.เฉลิมขวัญสตรี จ.พิษณุโลก


ครูในดวงใจชั้นประถมศึกษา
คุณครูทำนอง เมาะลาษี และคุณครูโกศล เมาะลาษี คุณครูทั้งสองให้ความเอ็นดูผมเสมอ เมื่อมีเรื่อง เดือดร้อน จะยื่นมือเข้ามาช่วย แม้ยามเจ็บป่วย คุณครูก็จะมาเยี่ยมถึงบ้าน และมีของมาฝาก อยู่เสมอ ทั้งเสื้อผ้า และอาหารแห้ง คุณครูทั้งสอง คอยให้กำลังใจ และพูดเสมอว่า "ถ้ามีเรื่องเดือดร้อน อันใด ให้มาหา ได้ทุกเมื่อ" คุณครูทั้งสอง มีพระคุณต่อผมมาก ตอนที่เดินทาง มากรุงเทพฯ คุณครูก็ได้ให้ ค่าเดินทางด้วย

อาจารย์ในชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น
อาจารย์ศรีเวียง นามเดช เป็นอาจารย์ที่ใจดีมาก ในเรื่องการเรียน อาจารย์จะช่วยติวให้ หากไม่เข้าใจ เมื่อไปเยี่ยม อาจารย์ทุกครั้ง อาจารย์ปฏิบัติเหมือนเดิม คือคิดว่า เราเป็นลูก จะดูแลดีเสมอ

อาจารย์ในชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย
อาจารย์จินตนา ผาริการ ท่านเป็นอาจารย์ฝ่ายแนะแนว ที่มีอัธยาศัยดีมาก ใจดี ให้คำปรึกษา คอยให้ กำลังใจ เมื่อผมรู้สึกท้อแท้ มีปัญหาเรื่องเงิน อาจารย์ก็จะช่วย หาทุนการศึกษาให้ อาจารย์ จะรับปรึกษา คอยฟังปัญหาทุกเรื่อง อาจารย์ทุกท่าน คุณครูทุกคน ที่สั่งสอนผมมา ขอนับถือ เป็นผู้มีพระคุณ ในหัวใจ
- นายพงษ์ศักดิ์ สาระภักดี -
โรงเรียนร้อยเอ็ดวิทยาลัย จ.ร้อยเอ็ด


ครูในดวงใจของข้าพเจ้า ชื่อ อาจารย์อนงค์ สุราเลิศ ท่านสอนวิชาเคมี อายุประมาณ ๕๐ กว่าปี ตลอดระยะเวลา ที่เรียนกับอาจารย์ ท่านเอาใจใส่ดีมาก พูดคุยให้คำปรึกษาทุกเรื่อง ท่านเป็นคน ที่มีความจำดีมาก แม้ท่านจะอายุมาก แต่ก็สามารถจดจำ ลูกศิษย์ได้เกือบทุกคน จึงทำให้ลูกศิษย์ รักท่านมาก ความประทับใจพิเศษ ที่ผมมีต่อท่าน คือเวลาเรียน ท่านจะคอยถามเสมอ และท่าน มักจะดุ ว่าผม ในเรื่องของการแต่งกาย บอกให้ทำตัวดีๆ น่ารักๆ และท่านจะนับลูกศิษย์ทุกคน เสมือนลูก ของท่าน นักเรียนทุกคน จึงให้ความเคารพท่าน เหมือนแม่เช่นกัน "แม่อนงค์" โดยอุปนิสัย จะเป็นคน เจ้าระเบียบ และจ้ำจี้จ้ำไช กับนักเรียนมาก เวลาสอน บางครั้ง ก็ทำหน้าดุ แต่ก็ชอบพูดตลก แทรกอยู่เรื่อยๆ พฤติกรรม ที่ไม่ดี ของลูกศิษย์คนไหน ไม่มีที่ท่านจะไม่รู้ ท่านจะพูด ให้กำลังใจเสมอ และ เป็นที่ปรึกษา ที่ดีมาก ไม่ว่าจะมีความเดือดร้อนอะไร ท่านสามารถ ช่วยได้ทุกเรื่อง ด้านการสอน ผมคิดว่า อาจารย์อนงค์ เป็นคนที่ ขยันสอนมาก ท่านจะมาโรงเรียนแต่เช้า นั่งคอยอยู่ในห้อง ก่อนนักเรียน น้อยครั้งมาก ที่ท่านจะไม่เข้าสอน หรือลา
- นายเอกพงษ์ แสนรัมย์ -
จากโรงเรียนลำปลายมาศ จ.บุรีรัมย์


คุณครูในดวงใจ ๑. คุณครูกัลยาณี อินทร์ลา โรงเรียนเมืองนครราชสีมา
ท่านให้ความอบอุ่น กับดิฉันมาก ท่านซื้อใบสมัครเข้าสอบ ม.ปลาย ของโรงเรียน ประจำจังหวัดให้ ท่านแนะนำ และหยิบยื่นโอกาสที่ดี ทางการศึกษาให้ หากไม่มีท่าน ดิฉันคงไม่ได้เรียนหนังสือ ในที่ที่ดีแห่งนี้ (ราชสีมา)

๒. อ.นงนุช วงศ์สัตสถาพร ราชสีมาวิทยาลัย สอนภาษาฝรั่งเศส
ท่านเป็นอาจารย์ที่รัก และเอาใจใส่ นักเรียนมาก ห่วงใยนักเรียน ให้คำแนะนำ และเป็นที่ปรึกษา นักเรียนที่ดีจริงๆ ท่านสอนทุกสิ่งทุกอย่าง ทั้งมารยาท การวางตัวต่อผู้คน ท่านเข้าใจ ในตัวดิฉันดีมาก ให้ความเมตตา ช่วยเหลือ อยู่ตลอดเวลา ดิฉันและเพื่อนๆ ในห้องรักท่านมาก ท่านเปรียบเสมือน แม่ของพวกเราเลยจริงๆ

วันแม่


      

ความเป็นมา
งานวันแม่จัดขึ้นครั้งแรกเมื่อวันที่ 10 มีนาคม พ.ศ. 2486 ณ.สวนอัมพร โดยกระทรวงสาธารณสุข แต่ช่วงนั้นเกิดสงครามโลกครั้งที่ 2 งานวันแม่ในปีต่อมาจึงต้องงดไป เมื่อวิกฤติสงครามสงบลง หลายหน่วยงานได้พยายามให้มีวันแม่ขึ้นมาอีก แต่ก็ไม่ประสบผลสำเร็จเท่าที่ควร และมีการเปลี่ยนกำหนดวันแม่ไปหลายครั้ง ต่อมาวันแม่ที่รัฐบาลรับรอง คือวันที่ 15 เมษายน โดยเริ่มจัดตั้งแต่ปี พ.ศ. 2493 แต่ก็ต้องหยุดลงอีกในหลายปีต่อมา เนื่องจากกระทรวงวัฒนธรรมถูกยุบไป ส่งผลให้สภาวัฒนธรรมแห่งชาติ ซึ่งรับหน้าที่จัดงานวันแม่ขาดผู้สนับสนุน ต่อมาสมาคมครูคาทอลิกแห่งประเทศไทย ได้จัดงานวันแม่ขึ้นอีกครั้ง ในวันที่ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2515
แต่จัดได้เพียงปีเดียวเท่านั้น จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2519 คณะกรรมการอำนวยการสภาสังคมสงเคราะห์แห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ จึงได้กำหนดวันแม่ขึ้นใหม่ให้เป็นวันที่แน่นอน โดยถือเอาวันเสด็จพระราชสมภพของสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ วันที่ 12 สิงหาคมเป็นวันแม่แห่งชาติ และกำหนดให้ดอกไม้สัญลักษณ์ของวันแม่ คือ ดอกมะลิ
 
ดอกมะลิ สัญลักษณ์ของวันแม่
นับตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ทรงเป็นสมเด็จพระบรมราชินีนาถในรัชกาลที่ 9 พระนามเดิม หม่อมราชวงศ์สิริกิติ์ กิติยากร เป็นพระธิดาองค์ใหญ่ของหม่อมเจ้านักขัตรมงคล (ภายหลังได้รับพระกรุณาโปรดเกล้าฯ สถาปนาขึ้นเป็น พลเอกพระวรวงศ์เธอ กรมหมื่นจันทบุรีสุรนาถ)กับ หม่อมหลวงบัว กิติยากร เสด็จพระราชสมภพเมื่อวันศุกร์ที่ 12 สิงหาคม พ.ศ. 2475 ณ บ้านของพลเอกเจ้าพระยาวงศานุประพัทธ์ (ม.ร.ว.สท้าน สนิทวงศ์) และท้าววนิดาพิจาริณี บิดาและมารดาของหม่อมหลวงบัว กิติยากร ตั้งอยู่ที่ 1808 ถนนพระรามที่ 6 อำเภอปทุมวัน จ.พระนคร  ได้รับพระราชทานนามจากพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวว่า "สิริกิติ์" มีความหมายว่า "ผู้เป็นศรีแห่งกิติยากร"

ตราประจำพระองค์
สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ทรงมีพระภาดา (พี่ชาย) 2 องค์ และและพระขนิษฐภคินี (น้องสาว) 1 องค์ ดังนี้ หม่อมราชวงศ์กัลยาณกิติ์ กิติยากร (ชาตะ พ.ศ. 2472) หม่อมราชวงศ์อดุลกิติ์ กิติยากร (ชาตะ พ.ศ. 2473) และ หม่อมราชวงศ์หญิง บุษบา กิติยากร (ชาตะ พ.ศ. 2477)
ในระหว่างยังทรงพระเยาว์ สถานการณ์บ้านเมืองไม่สู้สงบนัก เนื่องจากเพิ่งพ้นจากช่วงของการเปลี่ยนแปลงการปกครอง 24 มิถุนายน พ.ศ. 2475 ไม่นาน หม่อมเจ้านักขัตรมงคลต้องทรงออกจากราชการ รัฐบาลแต่งตั้งให้ไปรับตำแหน่งเลขานุการเอกประจำสถานทูตสยาม ณ กรุงวอชิงตัน ดี.ซี. ส่วนหม่อมหลวงบัวซึ่งมีครรภ์แก่ ได้เดินทางไปสมทบหลังจากให้กำเนิดหม่อมราชวงศ์สิริกิติ์แล้ว โดยมอบหม่อมราชวงศ์สิริกิติ์ให้อยู่ในความดูแลของบิดาและมารดาของหม่อมหลวงบัว ดังนั้นจึงต้องอยู่ไกลจากบิดามารดาตั้งแต่อายุน้อย บางคราวต้องเดินทางไปต่างจังหวัด เช่น พ.ศ. 2476 หม่อมเจ้าอัปสรสมาน กิติยากร พระมารดาของหม่อมเจ้านักขัตรมงคล ได้ทรงรับนัดดาตามเสด็จพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ไปอยู่ที่จังหวัดสงขลา ปลายปี พ.ศ. 2477 หม่อมเจ้านักขัตรมงคลทรงลาออกจากราชการแล้วกลับมาประเทศไทย จึงทำให้หม่อมราชวงศ์สิริกิติ์ซึ่งขณะนั้นอายุได้ 2 ปี 6 เดือน ได้กลับมาอยู่รวมพร้อมหน้ากันทั้งครอบครัว ณ ตำหนักบริเวณถนนกรุงเกษม ปากคลองผดุงกรุงเกษม ริมแม่น้ำเจ้าพระยา
การศึกษา
พ.ศ. 2479 เมื่อหม่อมราชวงศ์หญิงสิริกิติ์มีอายุได้ 4 ขวบ ก็ได้เข้ารับการศึกษาครั้งแรกในชั้นอนุบาลที่โรงเรียนราชินี ทว่าในขณะนั้น แม้เหตุการณ์ด้านการเมืองภายในประเทศไทยจะสงบลง แต่สถานการณ์ระหว่างประเทศก็ไม่สงบ กล่าวคือ สงครามมหาเอเชียบูรพาเริ่มแผ่ขยายมาถึงประเทศไทย กรุงเทพมหานครถูกโจมตีทางอากาศหลายครั้งจนการคมนาคมไม่สะดวก พระบิดาจึงให้หม่อมราชวงศ์สิริกิติ์ย้ายไปเรียนที่โรงเรียนเซนต์ฟรังซีสซาเวียร์คอนแวนต์ เพราะอยู่ใกล้วังพระบิดา ได้เรียนที่นั่นตั้งแต่ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 จนจบชั้นมัธยมศึกษา หม่อมราชวงศ์หญิงสิริกิติ์ได้เรียนเปียโน ซึ่งเรียนได้ดีและเร็วเป็นพิเศษ นอกจากนี้ยังได้ศึกษาภาษาอังกฤษและภาษาฝรั่งเศสด้วย

พ.ศ. 2489 ครั้นเมื่อสงครามโลกครั้งที่สองสงบลง หม่อมเจ้านักขัตรมงคลต้องเสด็จไปดำรงตำแหน่งรัฐทูตวิสามัญและอัครราชทูตผู้มีอำนาจเต็มประจำสำนักเซนต์เจมส์ ประเทศอังกฤษ ทั้งนี้โดยได้ทรงพาครอบครัวทั้งหมดไปอยู่ด้วย ในเวลานั้นหม่อมราชวงศ์หญิงสิริกิติ์ มีอายุได้ 13 ปีเศษ และเรียนจบชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 แล้ว
ขณะที่อยู่ในประเทศอังกฤษ หม่อมราชวงศ์หญิงสิริกิติ์ได้ศึกษาต่อทั้งวิชาภาษาอังกฤษและฝรั่งเศส และวิชาเปียโนกับครูพิเศษ หลังจากนั้นไม่นาน พระบิดาย้ายไปเดนมาร์กและฝรั่งเศส ตามลำดับ ขณะที่หม่อมราชวงศ์สิริกิติ์ก็ยังคงเรียนเปียโน และตั้งใจจะศึกษาต่อในวิทยาลัยการดนตรีที่มีชื่อเสียงของกรุงปารีส

ระหว่างที่อยู่ในประเทศฝรั่งเศส หม่อมราชวงศ์หญิงสิริกิติ์ได้มีโอกาสรับเสด็จพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ภูมิพลอดุลยเดช (ขณะนั้นทรงศึกษาต่อที่สวิตเซอร์แลนด์หลังจากเสด็จขึ้นครองราชย์) ซึ่งพระองค์เสด็จประพาสกรุงปารีส โดยทางรถยนต์จากสวิตเซอร์แลนด์ เพราะประสงค์จะเลือกซื้อรถยนต์พระที่นั่งแทนคันเดิม และยังได้รับชมการแสดงดนตรีของคณะที่มีชื่อเสียงด้วย ในระหว่างที่เสด็จพระราชดำเนินมายังกรุงปารีส ก็ได้ประทับที่สถานทูตไทยประจำประเทศฝรั่งเศสเช่นเดียวกันกับนักเรียนไทยคนอื่นในสมัยนั้น ทั้งนี้เนื่องจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ทรงโปรดการดนตรีเป็นพิเศษ ขณะที่หม่อมราชวงศ์หญิงสิริกิติ์ก็สนใจศิลปะเช่นกัน ทำให้เกิดความความสัมพันธ์ขึ้น
ทรงหมั้น
วันที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2491 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ทรงประสบอุบัติเหตุทางรถยนต์ ณ ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ทรงเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลแห่งหนึ่งโดยมีหม่อมหลวงบัวและหม่อมราชวงศ์หญิงสิริกิติ์ เข้าเฝ้าฯ เยี่ยมพระอาการเป็นประจำ และในช่วงระยะเวลาที่หม่อมราชวงศ์สิริกิติ์อยู่เฝ้าฯ ถวายพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวที่สวิตเซอร์แลนด์นั้น สมเด็จพระราชชนนีศรีสังวาลย์ (พระนามในเวลานั้น) ได้ทรงรับเป็นธุระจัดการให้หม่อมราชวงศ์สิริกิติ์เข้าศึกษาในโรงเรียน Pensionnat Riante Rive [ต้องการแหล่งอ้างอิง] ซึ่งเป็นโรงเรียนประจำแห่งหนึ่งของโลซาน ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ครั้นเมื่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงหายจากอาการประชวรแล้ว ก็ได้ทรงหมั้นหม่อมราชวงศ์สิริกิติ์เป็นการภายในเมื่อวันที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2492

หลังจากทรงหมั้นแล้ว หม่อมราชวงศ์หญิงสิริกิติ์ยังคงศึกษาต่อ กระทั่ง พ.ศ. 2493 เมื่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนินนิวัตพระนครเพื่อร่วมพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล พระองค์ท่านโปรดฯ ให้หม่อมราชวงศ์หญิงสิริกิติ์ตามเสด็จพระราชดำเนินกลับมาด้วย

อภิเษกสมรส

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระบรมราชินีนาถทรงสายสะพายนพรัตน์ราชวราภรณ์เมื่อวันที่ 28 เมษายน พ.ศ. 2493 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้จัดการพระราชพิธีราชาภิเษกสมรสขึ้น ณ วังสระปทุม และโปรดเกล้าฯ สถาปนาหม่อมราชวงศ์สิริกิติ์ขึ้นเป็น สมเด็จพระราชินีสิริกิติ์

หลังจากครองราชย์สมบัติอย่างกะทันหัน พระบาทสมเด็จพระหัวอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ได้โปรดเกล้าฯ ให้มีพระราชพิธีบรมราชาภิเษกขึ้นในวันที่ 5 พฤษภาคม 2493 และโปรดฯ ให้เฉลิมพระนามาภิไธย สมเด็จพระราชินีสิริกิติ์ เป็น สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินี หลังจากนั้นทั้งสองพระองค์ได้เสด็จฯ กลับไปยังสวิตเซอร์แลนด์เพื่อทรงรักษาพระองค์และทรงศึกษาต่อ แล้วเสด็จฯ กลับมาอีกครั้งในปี พ.ศ. 2495

พระราชโอรสธิดา
สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ทรงมีพระราชโอรส และพระราชธิดา 4 พระองค์ ดังนี้
1. สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าหญิงอุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี ประสูติ ณ สถานพยาบาลมองซัวซี นครโลซาน ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ เมื่อวันที่ 5 เมษายน พ.ศ. 2494 ต่อมาได้ทรงลาออกจากฐานันดรศักดิ์ (ปัจจุบัน ทรงพระนามว่า ทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตน์ราชกัญญา สิริโสภาพรรณวดี) เพื่อสมรสกับนายปีเตอร์ เลด เจนเซ่น ชาวอเมริกัน ทรงมีพระโอรส 1 องค์ และพระธิดา 2 องค์
2. สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าวชิราลงกรณ บรมจักราดิศรสันตติวงศ์ เทเวศรธำรงสุรบริบาล อภิคุณูประการมหิตลาดุลเดชภูมิพลนเรศวรางกูร กิติสิริสมบูรณ์ สวางควัฒน์ บรมขัตติยราชกุมาร ประสูติ ณ พระที่นั่งอัมพรสถาน เมื่อวันที่ 28 กรกฎาคม 2495 ต่อมา ทรงได้รับการสถาปนา ขึ้นเป็น สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ สยามมกุฏราชกุมาร เมื่อ พ.ศ. 2515
3. สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิรินธรเทพรัตนสุดา กิติวัฒนาดุลโสภาคย์ ประสูติ ณ พระที่นั่งอัมพรสถาน เมื่อวันที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2498 ต่อมาทรงได้รับพระราชทานโปรดเกล้าฯ ให้เฉลิมพระอิสริยยศ เป็น สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา เจ้าฟ้ามหาจักรีสิรินธร รัฐสีมาคุณากรปิยชาติ สยามบรมราชกุมารี เมื่อ พ.ศ. 2520
4. สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี ประสูติ ณ พระที่นั่งอัมพรสถาน เมื่อวันที่ 4 กรกฏาคม พ.ศ. 2500 ทรงอภิเษกสมรสกับ เรืออากาศโท (ยศในขณะนั้น) วีระยุทธ ดิษยะศริน ทรงมีพระธิดา 2 พระองค์

ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์
เมื่อ พ.ศ. 2499 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จฯ ออกผนวชเป็นเวลา 15 วัน ระหว่างวันที่ 22 ตุลาคม - 5 พฤศจิกายน และระหว่างที่ผนวช ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินี เป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ในภายหลังพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว จึงได้โปรดเกล้าฯ ให้เฉลิมพระนามาภิไธยเป็นสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ในวันเฉลิมพระชนมพรรษา 5 ธันวาคม ปีเดียวกัน


กิจกรรมต่าง ๆ ที่ควรปฏิบัติในวันแม่แห่งชาติ 
ดอกมะลิ ดอกไม้สัญลักษณ์วันเเม่
1. ข้าราชการ พ่อค้า ประชาชน หน่วยงานภาครัฐและเอกชนทั่วประเทศ
2. ร่วมจุดเทียนชัยถวายพระพรแด่สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ
3. การประดับไฟเฉลิมพระเกียรติ และประดับธงชาติตามอาคารบ้านเรือน
4. จัดกิจกรรมต่าง ๆ เกี่ยวกับวันแม่ เช่น การจัดนิทรรศการ การแสดง การประกวดต่างๆ เพื่อรำลึกถึงพระคุณของแม่
5. การบำเพ็ญสาธารณประโยชน์ ทำบุญใส่บาตรอุทิศส่วนกุศล
6. นำพวงมาลัยดอกมะลิไปกราบขอพรจากแม่

วันพุธที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2555

อาเซียน

อาเซียน

ASEAN


 
asean_564
asean flags2
"One  Vision, One Identity, One Community"หนึ่งวิสัยทัศน์  หนึ่งอัตลักษณ์  หนึ่งประชาคม 

800px-flag_of_asean_svg

asean_2510
กำเนิดอาเซียน
       อาเซียน หรือ สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (Association of South East AsianNations หรือ ASEAN) ก่อตั้งขึ้นโดยปฏิญญากรุงเทพ (Bangkok Declaration) ซึ่งได้มีการลงนามที่วังสราญรมย์ เมื่อวันที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2510 โดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศสมาชิกก่อตั้ง 5 ประเทศ ได้แก่ อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ มาเลเซีย สิงคโปร์ และไทย ซึ่งผู้แทนทั้ง 5 ประเทศ ประกอบด้วยนายอาดัม มาลิก (รัฐมนตรีต่างประเทศอินโดนีเซีย) ตุน อับดุล ราชัก บิน ฮุสเซน (รองนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรีกลาโหมและรัฐมนตรีกระทรวงพัฒนาการแห่งชาติมาเลเซีย) นายนาซิโซ รามอส (รัฐมนตรีต่างประเทศฟิลิปปินส์) นายเอส ราชารัตนัม (รัฐมนตรีต่างประเทศสิงค์โปร์) และพันเอก (พิเศษ) ถนัด คอมันตร์ (รัฐมนตรีต่างประเทศไทย)
      ในเวลาต่อมาได้มีประเทศต่างๆ เข้าเป็นสมาชิกเพิ่มเติม ได้แก่ บรูไนดารุสซาลาม (เป็นสมาชิกเมื่อ 8 ม.ค.2527) เวียดนาม (วันที่ 28 ก.ค. 2538) สปป.ลาว พม่า (วันที่ 23 ก.ค. 2540) และ กัมพูชา เข้าเป็นสมาชิกล่าสุด (วันที่ 30 เม.ย. 2542) ให้ปัจจุบันมีสมาชิกอาเซียนทั้งหมด 10 ประเทศ
      วัตถุประสงค์ของการก่อตั้งอาเซียน คือ เพื่อส่งเสริมความเข้าใจอันดีต่อกันระหว่างประเทศในภูมิภาค ธำรงไว้ซึ่งสันติภาพเสถียรภาพ และความมั่นคงทางการเมือง สร้างสรรค์ความเจริญก้าวหน้าทางด้านเศรษฐกิจ การพัฒนาทางสังคมและวัฒนธรรมการกินดีอยู่ดีของประชาชนบนพื้นฐานของความเสมอภาคและผลประโยชน์ร่วมกันของประเทศสมาชิก
สัญลักษณ์ของอาเซียน คือ รูปรวงข้าว สีเหลืองบนพื้นสีแดงล้อมรอบด้วยวงกลม สีขาวและสีน้ำเงิน
รวงข้าว 10 ต้น หมายถึง ประเทศสมาชิก 10 ประเทศ
สีเหลือง  หมายถึง  ความเจริญรุ่งเรือง 
สีแดง  หมายถึง  ความกล้าหาญและการมีพลวัติ
สีขาว  หมายถึง  ความบริสุทธิ์ 
สีน้ำเงิน  หมายถึง  สันติภาพและความมั่นคง
กฎบัตรอาเซียน (ASEAN Charter)
         ในการประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 13 เมื่อปี 2550 ที่ประเทศสิงค์โปร์ ผู้นำอาเซียนได้ลงนามในกฎบัตร อาเซียนซึ่งเปรียบเสมือนธรรมนูญของอาเซียนที่จะวางกรอบทางกฎหมายและโครงสร้างองค์กรเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของอาเซียน ในการดำเนินการตามวัตถุประสงค์และเป้าหมาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งการขับเคลื่อนการรวมตัวเป็นประชาคมอาเซียน ภายในปี 2558 (ค.ศ. 2015) ตามที่ผู้นำอาเซียนได้ตกลงกันไว้ โดยวัตถุประสงค์ของกฎบัตรอาเซียน คือ ทำให้อาเซียนเป็นองค์การที่มีประสิทธิภาพ มีประชาชนเป็นศูนย์กลาง และเคารพกฎกติกาในการทำงานมากขึ้น นอกจากนี้ กฎบัตรจะให้สถานะนิติบุคคลแก่อาเซียนเป็นองค์กรระหว่างรัฐบาล (Intergovernmental Organization)
กฎบัตรอาเซียน ประกอบด้วยข้อบทต่าง ๆ 13 บท 55 ข้อ มีประเด็นใหม่ที่แสดงความก้าวหน้าของอาเซียน ได้แก่
     (1) การจัดตั้งองค์กรสิทธิมนุษยชนของอาเซียน
     (2) การให้อำนาจเลขาธิการอาเซียนสอดส่องและรายงานการทำตามความตกลงของรัฐสมาชิก
     (3) การจัดตั้งกลไกสำหรับการระงับข้อพิพาทต่าง ๆ ระหว่างประเทศสมาชิก
     (4) การให้ผู้นำเป็น ผู้ตัดสินว่าจะดำเนินการอย่างไรต่อรัฐผู้ละเมิดพันธกรณีตามกฎบัตรฯ อย่างร้ายแรง
     (5) การเปิดช่องให้ใช้วิธีการอื่นในการตัดสินใจได้หากไม่มีฉันทามติ
     (6) การส่งเสริมการปรึกษาหารือกันระหว่างประเทศสมาชิกเพื่อแก้ไขปัญหาที่กระทบต่อผลประโยชน์ร่วม
     (7) การเพิ่มบทบาทของประธานอาเซียนเพื่อให้อาเซียนสามารถตอบสนองต่อสถานการณ์ฉุกเฉินได้อย่างทันท่วงที
     (8) การเปิดช่องทางให้อาเซียนสามารถมีปฏิสัมพันธ์กับองค์กรภาคประชาสังคมมากขึ้น และ
     (9) การปรับปรุงโครงสร้างองค์กรให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น เช่น ให้มีการประชุมสุดยอดอาเซียน 2 ครั้งต่อปีจัดตั้งคณะมนตรีเพื่อประสานความร่วมมือในแต่ละ 3 เสาหลัก และการมีคณะกรรมการผู้แทนถาวรประจำอาเซียนที่กรุงจาการ์ตา เพื่อลดเวลาและค่าใช้จ่ายในการประชุมของอาเซียน เป็นต้น

    กฎบัตรอาเซียนมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 15 ธันวาคม 2551 หลังจากที่ประเทศสมาชิกครบทั้ง 10 ประเทศ ได้ให้สัตยาบันกฎบัตร และการประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 14 ระหว่างวันที่ 28 กุมภาพันธ์ - 1 มีนาคม 2552 ที่จังหวัดเพชรบุรีเป็นการประชุมระดับผู้นำอาเซียนครั้งแรกหลังจากกฎบัตรมีผลบังคับใช้
 ประชาคมอาเซียน (ASEAN Community)

            ประชาคมอาเซียนประกอบด้วยความร่วมมือ 3 เสาหลัก คือ
 

        ประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน (ASEAN Political and Security Community–APSC)
        ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community–AEC)
         ประชาคมสังคมและวัฒนธรรม (ASEAN Socio-Cultural Community–ASCC)
1. ประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน
(ASEAN Political and Security Community – APSC)
           มีวัตถุประสงค์เพื่อเสริมสร้างและธำรงไว้ซึ่งสันติภาพและความมั่นคงของภูมิภาค เพื่อให้ประเทศในภูมิภาคอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุข และสามารถแก้ไขปัญหาและความขัดแย้ง โดยสันติวิธี อาเซียนจึงได้จัดทำแผนงานการจัดตั้งประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน (ASEAN Political-Security Community Blueprint) โดยเน้นใน 3 ประการ คือ
          1) การมีกฎเกณฑ์และค่านิยมร่วมกัน ครอบคลุมถึงกิจกรรมต่าง ๆ ที่จะร่วมกันทำเพื่อสร้างความเข้าใจในระบบสังคมวัฒนธรรม และประวัติศาสตร์ที่แตกต่างของประเทศสมาชิก ส่งเสริมพัฒนาการทางการเมืองไปในทิศทางเดียวกัน เช่น หลักการประชาธิปไตย การส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชน การสนับสนุนการมีส่วนร่วมของภาคประชาสังคม การต่อต้านการทจริต การส่งเสริมหลักนิติธรรมและธรรมาภิบาล เป็นต้น
          2) ส่งเสริมความสงบสุขและรับผิดชอบร่วมกันในการรักษาความมั่นคงสำหรับประชาชนที่ครอบคลุมในทุกด้านครอบคลุมความร่วมมือเพื่อเสริมสร้างความมั่นคงในรูปแบบเดิม มาตรการสร้างความไว้เนื้อเชื่อใจและการระงับข้อพิพาท โดยสันติเพื่อป้องกันสงครามและให้ประเทศสมาชิกอาเซียนอยู่ด้วยกัน โดยสงบสุขและไม่มีความหวาดระแวง และขยายความร่วมมือเพื่อต่อต้านภัยคุกคามรูปแบบใหม่ เช่น การต่อต้านการก่อการร้าย อาชญากรรมข้ามชาติต่าง ๆ เช่น ยาเสพติด การค้ามนุษย์ ตลอดจนการเตรียมความพร้อมเพื่อป้องกันและจัดการภัยพิบัติและภัยธรรมชาติ
          3) การมีพลวัตและปฏิสัมพันธ์กับโลกภายนอก เพื่อเสริมสร้างบทบาทของอาเซียนในความร่วมมือระดับภูมิภาค เช่น กรอบอาเซียน+3 กับจีน ญี่ปุ่น สาธารณรัฐเกาหลี (เกาหลีใต้) และการประชุมสุดยอดเอเชียตะวันออก ตลอดจนความสัมพันธ์ที่เข้มแข็งกับมิตรประเทศ และองค์การระหว่างประเทศ เช่น สหประชาชาติ
2.ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน
(ASEAN Political-Security Community-AEC)
          มีวัตถุประสงค์เพื่อทำให้อาเซียนมีตลาดและฐานการผลิตเดียวกันและมีการเคลื่อนย้ายสินค้า บริการ การลงทุน  เงินทุน และแรงงานมีฝีมืออย่างเสรี อาเซียนได้จัดทำแผนงาน การจัดตั้งประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community Blueprint) ซึ่งเป็นแผนงานบูรณาการการดำเนินงานในด้านเศรษฐกิจเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ 4 ด้าน คือ
         1) การเป็นตลาดและฐานการผลิตเดียว (single market and production base) โดยจะมีการเคลื่อนย้ายสินค้า บริการ การลงทุน และแรงงานมีฝีมืออย่างเสรี และการเคลื่อนย้ายเงินทุนอย่างเสรีมากขึ้น
         2) การสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันทางเศรษฐกิจของอาเซียน โดยให้ความสำคัญกับประเด็นนโยบายที่จะช่วยส่งเสริมการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจ เช่น นโยบายการแข่งขัน การคุ้มครองผู้บริโภค สิทธิในทรัพย์สินทางปัญญา นโยบายภาษี และการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน (การเงิน การขนส่ง เทคโนโลยีสารสนเทศ และพลังงาน)
         3) การพัฒนาเศรษฐกิจอย่างเสมอภาค ให้มีการพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม และการเสริมสร้างขีดความสามารถผ่านโครงการต่าง ๆ
         4) การบูรณาการเข้ากับเศรษฐกิจโลก เน้นการปรับประสานนโยบายเศรษฐกิจของอาเซียนกับประเทศภายนอกภูมิภาคเพื่อให้อาเซียนมีท่าทีร่วมกันอย่างชัดเจน
3. ประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน 
(ASEAN Socio-Cultural Community – ASCC)
          อาเซียนได้ตั้งเป้าเป็นประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน ในปี 2558 โดยมุ่งหวังเป็นประชาคมที่มีประชาชนเป็นศูนย์กลาง มีสังคมที่เอื้ออาทรและแบ่งปัน ประชากรอาเซียนมีสภาพความเป็นอยู่ที่ดีและมีการพัฒนาในทุกด้านเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน ส่งเสริมการใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างยั่งยืน รวมทั้งส่งเสริมอัตลักษณ์อาเซียน (ASEAN Identity)
เพื่อรองรับการเป็นประชาคมสังคม และวัฒนธรรมอาเซียน โดยได้จัดทำแผนงานการจัดตั้งประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน (ASEAN Socio-Cultural Community Blueprint)ซึ่งประกอบด้วยความร่วมมือใน 6 ด้าน ได้แก่

      1) การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์
      2) การคุ้มครองและสวัสดิการสังคม
      3) สิทธิและความยุติธรรมทางสังคม
      4) ความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อม
      5) การสร้างอัตลักษณ์อาเซียน
      6) การลดช่องว่างทางการพัฒนา
     ทั้งนี้โดยมีกลไกการดำเนินงาน ได้แก่ การประชุมรายสาขาระดับเจ้าหน้าที่อาวุโส และระดับรัฐมนตรีและคณะมนตรีประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน
สาระสำคัญของปฏิญญาชะอำ-หัวหิน ว่าด้วยการเสริมสร้างความร่วมมือ
          ด้านการศึกษาเพื่อบรรลุประชาคมอาเซียนที่เอื้ออาทรและแบ่งปันปฏิญญาชะอำ-หัวหินว่าด้วยการเสริมสร้างความร่วมมือด้านการศึกษาเพื่อบรรลุประชาคมอาเซียนที่เอื้ออาทรและแบ่งปัน  เน้นย้ำถึงบทบาทของการศึกษาในการสร้างประชาคมอาเซียน ภายในปี 2558 อันประกอบด้วย 3 เสาหลัก ดังนี้
1. บทบาทของภาคการศึกษาในเสาการเมืองและความมั่นคง
          สนับสนุนความเข้าใจและความตระหนักรับรู้เรื่องกฎบัตรอาเซียนให้มากขึ้นโดยผ่านหลักสูตรอาเซียน ในโรงเรียนและเผยแพร่กฎบัตรอาเซียนที่แปลเป็นภาษาต่างๆ ของชาติ ในอาเซียนให้เน้นในหลักการแห่งประชาธิปไตยให้มากขึ้น เคารพในสิทธิมนุษยชนและค่านิยมในเรื่องแนวทางที่สันติภาพในหลักสูตรของโรงเรียนสนับสนุน ความเข้าใจและความตระหนักรับรู้ใน
ความหลากหลายทางวัฒนธรรม ประเพณีและความเชื่อในภูมิภาคในหมู่อาจารย์ผ่านการฝึกอบรม โครงการแลกเปลี่ยน และการจัดตั้งข้อมูลพื้นฐานออนไลน์เกี่ยวกับเรื่องนี้จัดให้มีการประชุมผู้นำโรงเรียนอย่างสม่ำเสมอในฐานะที่เป็นพื้นฐานสำหรับการแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นเกี่ยวกับประเด็นในภูมิภาคอาเซียนที่หลากหลาย การสร้างศักยภาพและเครือข่าย รวมทั้งยอมรับการดำรงอยู่ของเวทีโรงเรียน
เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (Southeast Asia School Principals’ Forum: SEA-SPF)

2. บทบาทของภาคการศึกษาในเสาเศรษฐกิจ
         พัฒนาพัฒนากรอบทักษะภายในประเทศของแต่ละประเทศสมาชิกเพื่อช่วยสนับสนุนการมุ่งไปสู่การจัดทำการยอมรับทักษะในอาเซียนสนับสนุนการขับเคลื่อนของนักเรียนนักศึกษาให้ดีขึ้นโดยการพัฒนาบัญชีรายการระดับภูมิภาคของอุปกรณ์สารนิเทศด้านการศึกษาที่ประเทศสมาชิกอาเซียนจัดหาได้สนับสนุนการเคลื่อนย้ายแรงงานมีฝีมือในภูมิภาคอาเซียน โดยผ่านกลไกความร่วมมือในระดับภูมิภาคระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียนซึ่งจะต้องดำเนินควบคู่ไปกับความพยายามในการปกป้องและปรับปรุงมาตรฐานทางด้านการศึกษาและวิชาชีพพัฒนามาตรฐานด้านอาชีพบนพื้นฐานของความสามารถในภูมิภาคอาเซียนโดยมุ่งไปที่การสนับสนุนการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์เพื่อให้สามารถแข่งขันได้ทั้งในระดับภูมิภาคและระดับโลก และเพื่อสนองตอบต่อความต้องการของภาคอุตสาหกรรมโดยประสานกับกระบวนการกรอบการประชุมรัฐมนตรีอาเซียนด้านแรงงาน
3. บทบาทของภาคการศึกษาในเสาสังคมและวัฒนธรรม
         พัฒนาเนื้อหาสาระร่วมในเรื่องอาเซียนสำหรับโรงเรียนเพื่อใช้เป็นตัวอ้างอิงสำหรับการฝึกอบรมและการสอนของครูอาจารย์เสนอให้มีหลักสูตรปริญญาด้านศิลปวัฒนธรรมอาเซียนในมหาวิทยาลัยเสนอให้มีภาษาประจำชาติอาเซียน ให้เป็นภาษาต่างประเทศวิชาเลือกในโรงเรียนสนับสนุนโครงการระดับภูมิภาคที่มุ่งเน้นที่การส่งเสริมการตระหนักรับรู้เกี่ยวกับอาเซียนให้แก่เยาวชนรับรองการมีอยู่ของโครงการอื่นๆ เช่น การนำเที่ยวโรงเรียนอาเซียน โครงการแลกเปลี่ยนนักเรียนนักศึกษาอาเซียน การประชุมเยาวชนอาเซียนด้านวัฒนธรรม การประชุมสุดยอดเยาวชนนักศึกษาระดับมหาวิทยาลัยอาเซียน การประชุมเครือข่ายมหาวิทยาลัยอาเซียน และการประกวดสุนทรพจน์ระดับเยาวชน สนับสนุนการเรียนรู้ตลอดชีวิตในประเทศสมาชิกอาเซียนโดยการสนับสนุนการศึกษาสำหรับ
ทุกคนจัดให้มีการประชุมวิจัยทางด้านการศึกษาอาเซียนเพื่อส่งเสริมความร่วมมือทางการวิจัยและพัฒนาในภูมิภาคให้เป็นเวทีสำหรับนักวิจัยจากประเทศสมาชิกเพื่อแลกเปลี่ยนมุมมองในประเด็นและเรื่องที่เกี่ยวข้องของภูมิภาคสนับสนุนความเข้าใจและการตระหนักรับรู้ในประเด็นและเรื่องราวต่างๆ เกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมในภูมิภาคอาเซียนโดยการบูรณาการให้อยู่ในหลักสูตรในโรงเรียน และการมอบรางวัล
โรงเรียนสีเขียวอาเซียนเฉลิมฉลองวันอาเซียน (วันที่ 8 สิงหาคม)ในโรงเรียนโดยเฉพาะในเดือนสิงหาคมผ่านกิจกรรมที่หลากหลาย เช่น การร้องเพลงชาติอาเซียน การจัดการแข่งขันเรื่องประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมอาเซียนการจัดแสดงเครื่องหมาย และสัญลักษณ์อื่นๆ ของอาเซียน การจัดค่ายเยาวชนอาเซียน เทศกาลเยาวชนอาเซียนและวันเด็กอาเซียนเห็นชอบที่จะเสนอในรัฐสมาชิกอาเซียน 
แบ่งปันทรัพยากรแก่กัน และพิจารณาการจัดตั้งกองทุนพัฒนาด้านการศึกษาของภูมิภาคเพื่อให้มั่นใจว่าจะได้รับการสนับสนุนทางการเงินอย่างเพียงพอในการปฏิบัติการต่าง ๆได้ตามที่ได้รับการเสนอแนะมามอบหมายให้ องค์กรระดับรัฐมนตรีรายสาขาของอาเซียนเกี่ยวข้องและเลขาธิการอาเซียนดำเนินการปฏิบัติตามปฏิญญานี้โดยการให้แนวทางและสนับสนุนแผน 5 ปีของอาเซียนว่าด้วยเรื่องการศึกษา

         รวมทั้งข้อตกลงในการควบคุมดูแลที่ได้รับการสนับสนุนโดยคณะกรรมการผู้แทนถาวรและรายงานต่อที่ประชุม สุดยอดอาเซียนเป็นประจำผ่านคณะมนตรีประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียนทราบผลการคืบหน้าของการดำเนินการปฏิญาณว่าความมุ่งมั่นและข้อผูกพันของผู้นำอาเซียนในการเสริมสร้างความเข้มแข็งด้านการศึกษาเพื่อให้เกิดประชาคมอาเซียนที่มีการเคลื่อนไหวประชาคมที่มีความเชื่อมโยงกันและประชาคมของประชาชนอาเซียนและเพื่อประชาชนอาเซียน
นโยบายกระทรวงศึกษาธิการในการดำเนินการด้านการศึกษาตามปฏิญญาชะอำ-หัวหิน ว่าด้วยการเสริมสร้างความร่วมมือด้านการศึกษาเพื่อบรรลุประชาคมอาเซียนที่เอื้ออาทรและแบ่งปัน
           จากการประชุมคณะกรรมการระดับชาติเพื่อขับเคลื่อนการศึกษาในอาเซียนสู่การบรรลุเป้าหมายการจัดตั้งประชาคมอาเซียนในปี 2558 เมื่อวันจันทร์ที่ 23 สิงหาคม 2553 ณ กระทรวงศึกษาธิการ โดยมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการเป็นประธาน และผู้เข้าร่วมประชุมประกอบด้วย ผู้แทนองค์กรหลักของกระทรวงศึกษาธิการ ผู้แทนสำนักงานเลขาธิการคุรุสภา ผู้อำนวยการเครือข่ายมหาวิทยาลัยอาเซียนและผู้แทนกรมอาเซียน กระทรวงการต่างประเทศ ที่ประชุมได้ให้ความเห็นชอบร่างนโยบายเพื่อดำเนินงานตามปฏิญญาชะอำ-หัวหินด้านการศึกษา จำนวน 5 นโยบาย ดังนี้
         นโยบายที่ 1 การเผยแพร่ความรู้ ข้อมูลข่าวสาร และเจตคติที่ดีเกี่ยวกับอาเซียน เพื่อสร้างความตระหนักและเตรียมความพร้อมของครูคณาจารย์ และบุคลากรทางการศึกษา นักเรียน นักศึกษา และประชาชน เพื่อก้าวเข้าสู่ประชาคมอาเซียน ภายในปี 2558
         นโยบายที่ 2  การพัฒนาศักยภาพของนักเรียน นักศึกษา และประชาชนให้มีทักษะที่เหมาะสมเพื่อเตรียมความพร้อมในการก้าวประชาคมอาเซียน เช่น ความรู้ภาษาอังกฤษ ภาษาเพื่อนบ้าน เทคโนโลยีสารสนเทศ ทักษะและความชำนาญการที่สอดคล้องกับการปรับตัวและเปลี่ยนแปลงทางอุตสาหกรรม และการเพิ่มโอกาสในการหางานทำของประชาชน รวมทั้งการพิจารณาแผนผลิตกำลังคน
         นโยบายที่ 3  การพัฒนามาตรฐานการศึกษาเพื่อส่งเสริมการหมุนเวียนของนักศึกษาและครูอาจารย์ในอาเซียน รวมทั้งเพื่อให้มีการยอมรับในคุณสมบัติทางวิชาการร่วมกันในอาเซียน การส่งเสริมความร่วมมือระหว่างสถาบันการศึกษาต่าง ๆ และการแลกเปลี่ยนเยาวชน การพัฒนาระบบการศึกษาทางไกล ซึ่งช่วยสนับสนุนการศึกษาตลอดชีวิต การส่งเสริมและปรับปรุงการศึกษาด้านอาชีวศึกษาและการฝึกอบรมทางอาชีพ ทั้งในขั้นต้นและขั้นต่อเนื่อง ตลอดจนส่งเสริมและเพิ่มพูนความร่วมมือระหว่างสถาบันการศึกษาของประเทศสมาชิกของอาเซียน
         นโยบายที่ 4  การเตรียมความพร้อมเพื่อเปิดเสรีการศึกษาในอาเซียนเพื่อรองรับการก้าวสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนประกอบด้วย การจัดทำความตกลงยอมรับร่วมด้านการศึกษา การพัฒนาความสามารถ ประสบการณ์ในสาขาวิชาชีพสำคัญต่างๆ เพื่อรองรับการเปิดเสรีการศึกษาควบคู่กับการเปิดเสรีด้านการเคลื่อนย้ายแรงงาน
         นโยบายที่ 5  การพัฒนาเยาวชนเพื่อเป็นทรัพยากรสำคัญในการก้าวสู่ประชาคมอาเซียน


 ประเทศสมาชิกอาเซียน (ASEAN Member States)

flag-brunei-darussalam
เนการาบรูไนดารุสซาลาม : Negara Brunei Darussalam
การปกครอง : สมบูรณาญาสิทธิราชย์
ประมุข : สมเด็จพระราชาธิบดีฮัจญี ฮัสซานัล โบลเกียห์ มูอิซซัดดิน วัดเดาเลาะห์
เมืองหลวง : บันดาร์เสรีเบกาวัน
ภาษาราชการ : ภาษามาเลย์, ภาษาอาหรับ
หน่วยเงินตรา : บรูไนดอลลาร์
เว็บไซต์กระทรวงการต่างประเทศ www.mofat.gov.bn

flag-cambodia
ราชอาณาจักรกัมพูชา : Kingom of Cambodia
การปกครอง : ระบอบประชาธิปไตย
ประมุข : พระบาทสมเด็จพระบรมนาถนโรดม สีหมุนี
เมืองหลวง : กรุงพนมเปญ
ภาษาราชการ : ภาษาเขมร
หน่วยเงินตรา : เรียล
เว็บไซต์กระทรวงการต่างประเทศ www.mfaic.gov.kh

flag-indonesia
สาธารณรัฐอินโดนีเซีย : Republic of Indonesia
การปกครอง : ระบอบสาธารณรัฐแบบประชาธิปไตย
ประมุข : พลโทซูซีโล บัมบัง ยูโดโยโน
เมืองหลวง : กรุงจาการ์ตา
ภาษาราชการ : ภาษาบาร์ฮาซา, ภาษาอินโดนีเซีย
หน่วยเงินตรา : รูเปียห์
เว็บไซต์กระทรวงการต่างประเทศ www.kemlu.go.id

flag-lao_pdr
สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว : The Loa People's Democratic Republic
การปกครอง : ระบอบสังคมนิยม
ประมุข : พลโทจูมมะลี ไซยะสอน
เมืองหลวง : นครหลวงเวียงจันทน์
ภาษาราชการ : ภาษาลาว
หน่วยเงินตรา : กีบ
เว็บไซต์กระทรวงการต่างประเทศ www.mofa.gov.la

flag-malaysia
มาเลเซีย : Malaysia
การปกครอง : สหพันธรัฐ โดยมีสมเด็จพระราชาธิบดีเป็นประมุข
ประมุข : สมเด็จพระราชาธิบดีสุลต่านตวนกู อับดุล ฮาลิม มูอัซซอม ซาร์
เมืองหลวง : กรุงกัวลาลัมเปอร์
ภาษาราชการ : ภาษามาเลย์
หน่วยเงินตรา : ริงกิต
เว็บไซต์กระทรวงการต่างประเทศ www.kln.gov.my

flag-myanmar
สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมาร์ : Republic of the Union of the Myanmar
การปกครอง : ระบบประธานาธิบดี
ประมุข : พลเอกเต็ง เส่ง
เมืองหลวง : นครเนปิดอร์
ภาษาราชการ : ภาษาพม่า
หน่วยเงินตรา : จั๊ต
เว็บไซต์กระทรวงการต่างประเทศ www.mofa.gov.mm

flag-philippines
สาธารณรัฐฟิลิปปินส์ : Republic of the Philippine
การปกครอง : สาธารณรัฐเดี่ยวระบบประธานาธิบดี
ประมุข : เบนิกโน อากีโน ที่ 3
เมืองหลวง : กรุงมะลิลา
ภาษาราชการ : ภาษาตากาล๊อก, ภาษาอังกฤษ
หน่วยเงินตรา : เปโซ
เว็บไซต์กระทรวงการต่างประเทศ www.dfa.gov.ph

flag_singapore
สาธารณรัฐสิงคโปร์ : Republic of Singapore
การปกครอง : ระบบสาธารณรัฐแบบรัฐสภา มีประธานาธิบดีเป็นประมุข
ประมุข : โทนี ตัน เค็ง ยัม
เมืองหลวง : สิงคโปร์
ภาษาราชการ : ภาษาอังกฤษ, ภาษาจีนกลาง, ภาษามาเลย์, ภาษาทมิฬ
หน่วยเงินตรา : ดอลล่าร์สิงคโปร์
เว็บไซต์กระทรวงการต่างประเทศ www.mfa.gov.sg

flag-thailand
ราชอาณาจักรไทย : Kingdom of Thailand
การปกครอง : ระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข
ประมุข : พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช
เมืองหลวง : กรุงเทพมหานคร
ภาษาราชการ : ภาษาไทย
หน่วยเงินตรา : บาท
เว็บไซต์กระทรวงการต่างประเทศ www.mfa.go.th

flag-vietnam
สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม : Socialist Republic of Vietnam
การปกครอง : ระบอบสังคมนิยมเวียดนาม
ประมุข : เจือง เติ๋น ซาง
เมืองหลวง : กรุงฮานอย
ภาษาราชการ : ภาษาเวียดนาม
หน่วยเงินตรา : ด่อง
เว็บไซต์กระทรวงการต่างประเทศ www.mofa.gov.vn
  

ถาม-ตอบ เกี่ยวกับอาเซียน
ASEAN ย่อมาจากอะไร
- Association of Southeast Asian Nations หรือ สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
อาเซียนเริ่มก่อตั้งครั้งแรกประกอบด้วยสมาชิกทั้งหมดกี่ประเทศ ประเทศใดบ้าง
- 5  ประเทศ  ได้แก่  อินโดนีเซีย  มาเลเซีย ฟิลิปปินส์  สิงคโปร์ และไทย
 ปัจจุบันอาเซียน ประกอบด้วยประเทศใดบ้าง
- กัมพูชา ฟิลิปปินส์ บรูไนดารุสซาลาม มาเลเซีย สิงคโปร์ ไทย อินโดนีเซีย เวียดนาม พม่า ลาว
อาเซียน+3 ประกอบด้วยประเทศใดบ้าง
- กลุ่มประเทศอาเซียน 10 ประเทศ และประเทศ จีน เกาหลีใต้ และ ญี่ปุ่น
อาเซียน+6 ประกอบด้วยประเทศใดบ้าง
- กลุ่มประเทศอาเซียน 10 ประเทศ กลุ่มประเทศ+3 และประเทศออสเตรเลีย อินเดีย และนิวซีแลนด์
คำขวัญอาเซียน มีว่าอย่างไร
- หนึ่งวิสัยทัศน์, หนึ่งอัตลักษณ์, หนึ่งประชาคม (One Vision, One Identity, One Community)
ใครคือเลขาธิการอาเซียนคนปัจจุบัน
- ดร. สุรินทร์ พิศสุวรรณ
สัญลักษณ์อาเซียนสื่อความหมายใดบ้าง
asean_564
รูปรวงข้าวสีเหลืองบนพื้นสีแดงล้อมรอบด้วยวงกลมวีขาวและสีน้ำเงินรวงข้าว 10 ต้น มัดรวมกันไว้ หมายถึง ประเทศสมาชิกรวมกันเพื่อมิตรภาพและความเป็นน้ำหนึ่งในเดียวกัน

สีน้ำเงิน  หมายถึง   สันติภาพและความมั่นคง
สีแดง     หมายถึง   ความกล้าหาญ และความก้าวหน้า
สีขาว      หมายถึง   ความบริสุทธิ์
สีเหลือง  หมายถึง   ความเจริญรุ่งเรือง
3 เสาหลักของประชาคมอาเซียน ประกอบด้วยความร่วมมือด้านใดบ้าง
1. ประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน
2. ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน
3. ประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน

สำนักเลขาธิการอาเซียน (ASEAN Secretariat) ตั้งอยู่ที่ใด
- กรุงจาการ์ตา ประเทศอินโดนีเซีย
อาเซียนตั้งเป้าหมายที่บรรลุประชาคมอาเซียนโดยสมบูรณ์ในปีใด
- ปี พ.ศ. 2558 (ค.ศ. 2015)
กฎบัตรอาเซียน (ASEAN Charter) คืออะไร และมีความสำคัญอย่างไร 
- กฎบัตรอาเซียน (ASEAN Charter) คือ ธรรมนูญอาเซียนที่จะมีการวางกรอบของกฎหมายและโครงสร้างองค์กรเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของอาเซียนในการขับเคลื่อนเพื่อการรวมตัวเป็นประชาคมอาเซียนภายในปี 2015 (พ.ศ.2558) เพื่อให้อาเซียนเป็นองค์กรระหว่างรัฐบาลในภูมิภาคที่มีประสิทธิภาพมีประชาชนเป็นศูนย์กลางและเคารพในกติกาการทำงานระหว่างกันมากยิ่งขึ้น